Multi Jumping Universe

teamLab, 2018-, Interactive Digital Installation, Sound: DAISHI DANCE

Multi Jumping Universe

teamLab, 2018-, Interactive Digital Installation, Sound: DAISHI DANCE

Multi Jumping was developed by teamLab, it features a unique flexible surface that allows multiple persons to participate at the same time. You sink, or jump higher than usual, or leapfrog over people nearby as they jump higher and higher.


This installation is created around the theme of the life cycle of the stars of the universe. In this space, people create a warp in space and time. This distortion will attract stardust and gas from the universe, birthing new stars, and making them grow. When the life of the star ends, it will return to the stardust and nebulas that float through the universe, becoming the building blocks of new stars. The size and mass of the star is determined by how much stardust and gases are gathered. A gigantic and heavy star will eventually becomes a black hole that swallows up everything around them.

ที่มาของผลงาน

ชีวิตของดวงดาว

ดาวที่มีแสงสว่างในตัวมันเองอย่างเช่นดวงอาทิตย์หรือดวงดาวบนท้องฟ้ากลางคืนที่เรามองเห็นเรียกว่า “ดาวฤกษ์” ในอวกาศนี้มีดวงดาวชนิดต่างๆมากมาย โดยเฉพาะ “ดาวเคราะห์” อย่างเช่นโลกที่เราอาศัยอยู่หรือ “ดาวบริวาร” อย่างเช่นดวงจันทร์ที่หมุนรอบโลก แต่ในที่นี้จะขอพูดถึง “ดาวฤกษ์” เท่านั้น


สิ่งที่มีความเกี่ยวข้องเป็นอย่างมากต่อวงจรชีวิตของดาวฤกษ์คือ “แรงโน้มถ่วง” ทฤษฎีของไอน์สไตน์ระบุว่าการบิดเบี้ยวของปริภูมิ-เวลาในอวกาศเกิดจากมวลของสสาร ซึ่งสิ่งที่ก่อให้เกิดการรวมตัวของสสารโดยรอบเพื่อให้เข้าใกล้การบิดเบี้ยวของปริภูมิ-เวลานี้เรียกว่า “แรงโน้มถ่วง”

  • กำเนิดดวงดาว

    อวกาศมีฝุ่นดาวและก๊าซล่องลอยอยู่มากมาย เมื่อรวมตัวกันด้วยแรงโน้มถ่วงแล้วจะกลายเป็นแหล่งกำเนิดดวงดาว ซึ่งวัตถุที่จะกลายเป็นดวงดาวในอนาคตนี้จะเรียกว่า “ดาวฤกษ์ก่อนเกิด”

  • วิวัฒนาการของดวงดาว

    “ดาวฤกษ์ก่อนเกิด” เกิดจากการรวมตัวของฝุ่นดาวและก๊าซที่อยู่โดยรอบด้วยแรงโน้มถ่วง จากนั้นจะวิวัฒนาการต่อไปเป็นดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างในตัวของมันเอง ซึ่งดาวฤกษ์จะวิวัฒนาการไปตาม “แถบลำดับหลัก” เกือบตลอดวงจรชีวิตของมัน ดวงอาทิตย์ที่เราเห็นนี้ก็จะมีวิวัฒนาการด้วยลำดับดังกล่าวนี้เช่นกัน
    เมื่อดวงดาววิวัฒนาการต่อไปเรื่อยๆ มันจะพองตัวจนกลายเป็นดาวขนาดยักษ์สีแดงที่เรียกว่า “ดาวยักษ์แดง”

  • วาระสุดท้ายและการกำเนิดใหม่ของดวงดาว

    ดาวที่มีมวลขนาดเล็กกว่าประมาณ 8 เท่าของดวงอาทิตย์จะสิ้นอายุขัยด้วยการปลดปล่อยก๊าซออกมา ส่วนดาวที่มีมวลขนาดใหญ่กว่าจะสิ้นอายุขัยด้วยการก่อให้เกิด “ซูเปอร์โนวา” ซึ่งดาวที่ระเบิดออกกลายเป็น “ซูเปอร์โนวา” นี้จะกลายเป็นฝุ่นดาวและก๊าซใหม่อีกครั้งและจะกลายเป็นแหล่งกำเนิดของดวงดาวต่อไป